นวัตกรรมใช้น้ำแทนน้ำมันสำหรับรถยนต์ในอนาคต
ในยุคสมัยนี้มีวิวัฒนาการเปิดตัวอุปกรณ์แยกไฮโดรเจนจากน้ำซึ่งเป็นบริษัทของคนไทยนั่นเอง วัตถุหลักคือเป็นเชื้อเพลิงใช้คู่กับน้ำมัน เป็นแบบติดตั้งให้สำเร็จในรถยนต์โดยไม่ต้องมีถังบรรจุ เพียงแค่เติมน้ำเปล่าผ่านเครื่องแยกไฮโดรเจน และผสมควบคู่กับน้ำมันในการขับเคลื่อน เพื่อช่วยให้ประหยัดน้ำมันมากกว่าเดิมถึง 40-60% ได้มีการทดลองในระยะเวลา 2 ปี ผลการตอบรับได้ดีเลยทีเดียว มีการควบคุมอัตโนมัติทั้งหมด และได้มีการแก้ปัญหาไฮโดรเจนเกินความต้องการ เพราะมีตัวควบคุมผลิตตามรอบเครื่องยนต์โดยเฉพาะการทำงานจริงเท่านั้น และยังใช้ได้กับรถยนต์เบนซินและดีเซลอีกด้วย
ภาพจาก picdb
หลังจากบริษัทพัฒนาอุปกรณ์ไฮโดรเจนพร้อมใช้งานมากกว่า 2 ปี และได้รับผลเป็นที่น่าพอใจ ยังมีจุดบริการจำหน่ายให้สำหรับบุคคลทั่วไป โดยจุดเด่นไม่ต้องดัดแปลงเครื่องยนต์ใดๆ ไม่ต้องติดตั้งถัง การทำงานอัตโนมัติ ควบคุมด้วยกล่องอีซียู โดยใช้น้ำเป็นหลักในการเปลี่ยนเป็นไฮโดรเจน ไม่มีอันตรายอย่างแน่นอน และอุปกรณ์ที่ผลิตไฮโดรเจนขนาดเล็กนั้นใช้งานกับรถยนต์ โดยอุปกรณ์ทำหน้าที่แยกไฮโดรเจนจากน้ำแล้วฉีดผสมกับน้ำมันในเครื่องยนต์ เป็นการลดการใช้น้ำมันถึง 40-60%
ปัจจุบันค่ายรถยนต์หรือการขับเคลื่อนในท้องตลาดเกือบทุกค่าย ทางเราได้พัฒนารถก๊าซไฮโดรเจนในการขับเคลื่อน เกิดการคิดค้นเรื่องนี้และพัฒนาอยู่เสมอ ยังมีแนวโน้มใช้ได้จริงในอนาคต โดยนวัตกรรมขณะนี้เป็นการพัฒนาในรูปแบบของไฮโดรเจนเหลว เช่นเดียวกับการใช้แก๊ส LPG และ NGV แต่ไฮโดรเจนเพาเวอร์ จะถูกออกแบบเพื่อใช้คู่ไปกับน้ำมันโดยหลัก ลักษณะควบเสริมเป็นเชื้อเพลิงหลักเพื่อให้มีความหล่อลื่นอยู่เสมอโดยที่ไม่ต้องดัดแปลงเครื่องยนต์ใดๆทั้งสิ้นให้เป็นการทำงานของระบบอีตโนมัติไป
ตามหลักแล้วอุปกรณ์ที่ติดตั้งจะประกอบไปด้วย CPU-Control, Power Control, หล่อเย็นและตัวควบคุม การจ่ายเชื้อเพลิงที่ใช้เทคโนโลยีอัลตราโซนิกในการแยกก๊าซไฮโดรเจนจากน้ำ เป็นเซลล์เชื้อเพลิงที่ใช้ควบคู่กับน้ำมันทั้งดีเซลและเบนซิน ชิ้นส่วนทุกอย่างการตั้งค่าออกมาจากโรงงานไม่สามารถจูนเครื่องเพิ่มเติมได้ เพื่อความเสถียรและปลอดภัย ลักษณะการทำงานเมื่อติดตั้งไปแล้วภายในเครื่องยนต์ จะมีหม้อเติมน้ำเปล่า และตัวแยกไฮโดรเจน มีตัวควบคุมไฮโดรเจนตามรอบเครื่องยนต์ตามจริง จึงไม่มีไฮโดรเจนตกค้างเพื่อความปลอดภัย ถังน้ำขนาด 5 ลิตร จะผลิตไฮโดรเจนผสมกับน้ำมันเป็นเชื้อเพลิงโดยระยะทาง 600-700 ก.ม. จะ ประหยัดน้ำมันประมาณ 40-60% เลย
ส่วนเรื่องความปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญ ยังมีการพัฒนาต่อมาเรื่อย ๆ ตอนนี้ได้มีการออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ เพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบความผิดปกติการทำงานในระบบวงจรทั้งหมด ที่จะควบคุมรีแอคเตอร์กับเครื่อง เพื่อให้ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่น้อยลง จัดเป็นสัดเป็นส่วนให้เข้ากับความต้องการของเชื้อเพลิงของเครื่องยนต์ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยสูงสุด จุดประสงค์นี้คิดค้นเพื่อให้รู้ว่าน้ำมีคุณค่าและประโยชน์รวมถึงพลังงานทดแทน รีแอคเตอร์นี้ยังคอยแก้ปัญหามลพิษ ปัญหาสภาวะของโลกในปัจจุบันที่เกิดกับเมืองไทยอย่างเรา ไม่ว่าจะเป็นภาวะโลกร้อน เพราะการใช้น้ำมาเป็นพลังงานเป็นเชื้อเพลิงได้ จึงลดภาวะโลกร้อนไปด้วย